>||--โรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม--||<
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
ค้นหา   
เรื่องเล่าเชิงเนินเขา
ระบบสารสนเทศการบริหาร








Secondary school Information Administration System
ระบบสารสนเทศครู

  
เกี่ยวกับชำฆ้อ  
 

ประวัติโรงเรียน

     เริ่มเปิดทำการสอนครั้งแรกในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 โดยเปิดในนามของโรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” สาขาชำฆ้อพิทยาคม มีจำนวนนักเรียน 115คน ในปีการศึกษา 2536 ได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1 หลัง กว้าง 78.0 เมตร ยาว 32.25 เมตร จำนวน 4 ห้องเรียน กั้นผนังโดยรอบเป็นคอนกรีตเสริมไม้ โครงหลังคาเหล็ก เพื่อรองรับจำนวนนักเรียนที่เข้าเรียนในขณะนั้น จำนวน 103 คน จัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนชำฆ้อพิทยาคมให้เรียนโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร ตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาของกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ และในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537  กรมสามัญศึกษา ประกาศตั้งโรงเรียนชำฆ้อพิทยาคมลงนามโดย นายสัมพันธ์ ทองสมัคร  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

สัญลักษณ์โรงเรียน
สีประจำโรงเรียน


ฟ้า  -  ขาว

วิสัยทัศน์

     โรงเรียนชำฆ้อพิทยาคมมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สู่มาตรฐานสากล บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ
     1. มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
     2. ส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และให้มีทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสาร
     3. พัฒนาระบบบริหารจัดการที่เน้นการมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
     4. ส่งเสริมและพัฒนาบรรยากาศสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
     5. ส่งเสริมให้ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา


เป้าประสงค์    

    1. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีสมรรถนะหลักของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์  และมีค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ
    2. ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีทักษะทางภาษาในการสื่อสาร และมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
    3. สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนตามหลักธรรมาภิบาล
    4. สถานศึกษามีบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ปราศจากสิ่งเสพติดและอบายมุข
    5. ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษา


แผนที่เดินทาง